HOME KNOWLEDGES / ความรู้เรื่องบ้าน


 

Roof of The House รู้หน้า รู้หลัง (คา) 

“หลังคา” เป็นส่วนประกอบหนึ่งของอาคารที่มีความสำคัญมาก ทั้งในเรื่องของการป้องกันความร้อน ฝน ลม และความหนาวเย็น รวมทั้งยังเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างเอกลักษณ์ให้อาคารได้เป็นอย่างดี โครงสร้างและวัสดุที่นำมาทำเป็นหลังคาควรเลือกชนิดที่ทนไฟ ทนทานต่อสภาพอากาศภายนอก และเป็นฉนวนกันความร้อนได้ดี 

โดยทั่วไปบริเวณใต้หลังคาควรมีพื้นที่เพียงพอต่อการติดตั้งอุปกรณ์ของงานระบบต่างๆ เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ โดยมีระยะห่างระหว่างฝ้ากับหลังคาอย่างน้อย 30 เซนติเมตรขึ้นไป 


สำหรับรูปแบบของหลังคาที่เรามักเห็นและนิยมกัน ได้แก่ หลังคาจั่ว (Gable Roof) หลังคาปั้นหยา (Hip Roof) หลังคาคอนกรีตเรียบ (Flat Slab Roof) เป็นต้น การพิจารณาว่าจะเลือกใช้หลังคาแบบใดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง รวมทั้งรูปแบบของอาคารด้วยเช่นกัน 

สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเลือกรูปแบบหลังคาที่เหมาะกับบ้านในเมืองไทย
1. ควรมีชายคายื่นออกมามากพอที่จะป้องกันแสงแดดและไม่ให้ฝนสาดเข้ามาทางหน้าต่างบ้านทั้งสี่ด้าน โดยเฉพาะด้านทิศตะวันตกซึ่งมีแดดจัดที่สุด 
2. หลังคาไม่ควรมีขนาดใหญ่เกินไป และควรมีความลาดชันมากพอที่จะทำให้น้ำฝนไหลลงได้สะดวก เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำรั่วซึมหลังคาได้ง่าย 
3. รูปแบบของหลังคาไม่ควรซับซ้อนมากเกินไป เพราะจะมีปัญหาเรื่องการรั่วซึมของน้ำตรงรอยต่อของหลังคาได้
4. พื้นที่ใต้หลังคาต้องใหญ่พอที่จะให้มวลอากาศร้อนซึ่งลอยสูงไม่ส่งผ่านไปยังห้องด้านล่างได้เร็ว และต้องมีการระบายอากาศเพื่อให้อากาศร้อนใต้หลังคาถ่ายเทออกนอกบ้านได้ โดยอาจทำช่องระบายอากาศที่หน้าจั่วของหลังคาหรือฝ้าที่ชายคา และอาจติดฉนวนกันความร้อนบริเวณใต้หลังคาร่วมด้วย ก็จะช่วยให้บ้านมีสภาวะน่าสบายมากขึ้น ปัจจุบันฉนวนกันความร้อนมีให้เลือกใช้หลายแบบ อาทิ แบบใยแก้ว และแบบพอลิเอทีลีน 


หลักการออกแบบหลังคาที่ป้องกันการรั่วซึมได้ดี 
- ใช้หลังคาทรงสูง มีความชันตั้งแต่ 30 - 45 องศา 
- อย่านำหลังคาหลายชนิดมาประกอบกัน เพราะรอยต่อที่เกิดขึ้นคือจุดอ่อนที่อาจทำให้เกิดการรั่วซึมของน้ำฝน 
- โครงหลังคาที่ไม่ได้มาตรฐานตามรูปลักษณ์ของหลังคามีโอกาสมากที่จะเกิดการแอ่นตัว เป็นเหตุให้น้ำรั่วซึมลงมาได้ จึงต้องพิจารณาถึงขนาดและความแข็งแรงของโครงสร้างด้วย
- องค์ประกอบต่างๆของหลังคาเป็นจุดอ่อนที่ฝนจะไหลผ่านได้ จึงควรออกแบบองค์ประกอบนั้นๆให้กันน้ำฝนได้
- หลังคาแบนใช้ได้กับบ้านทุกแบบ แต่หลังคาประเภทนี้มีการถ่ายเทน้ำได้ช้า รอยเจาะท่อระบายน้ำต่างๆ เป็นจุดอ่อนที่จะทำให้เกิดการรั่วซึมได้ง่าย รวมถึงแนวเชื่อมชนกับโครงสร้างต่างๆก็เป็นจุดอ่อนที่น้ำจะขังและค่อยๆซึมผ่านตัวพื้นหลังคาลงไปได้ 

«  กลับหน้าความรู้เรื่องบ้านทั้งหมด
 

 

 
       
  โปรเจค
• อำเภอหาดใหญ่
- โครงการคลองหวะ
- โครงการคลองแห
- โครงการลพบุรีราเมศวร์
• อำเภอเมืองสงขลา
- อาคารโรงแรม 7 ชั้น
- โครงการนวมินทร์
- โครงการร่มโพธิ์
- โครงการวิลล่า / Villa Project
- โครงการเนเจอร์ปาร์ค
• อำเภอนาทวี
- โครงการทรัพย์รุ่งโรจน์
 
 
  เบญจพร กรุ๊ป เกี่ยวกับเบญจพร กรุ๊ป  
- เบญจพร แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
- บริษัท บี. เจ. พรีคาสท์ จำกัด
- บริษัท เบญจพร คอนกรีต โปรดักส์ จำกัด
- ตลาดเบญจพร
- มูลนิธิเบญจพร
- เกี่ยวกับเบญจพร กรุ๊ป
- ข่าวสาร และกิจกรรม
- ความรู้เรื่องบ้าน
- ร่วมงานกับเรา
- ติดต่อเบญจพร
 
 
 
 

New User? Here | Forgot Password?Here

©COPYRIGHTS 2012 BENJABHORN GROUP
ALL RIGHTS RESERVED. WEBDESIGN BY ME-FI DOT COM